สืบค้นข้อมูลจากหนังสือ

ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

“อีเลิ้ง”  สามโคก
     ชาวมอญอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากนั้นได้อพยพเข้ามาอีกหลายคราว ชาวมอญบ้านสามโคกมีฝีมือทางการทำอิฐมอญและงานเครื่องปั้นดินเผา "ตุ่มสามโคก" เป็นหนึ่งในหัตถกรรมศิลป์อันลือเลื่องด้วยฝีมือ ความคงทน และเอกลักษณ์แห่งรูปลักษณ์เฉพาะตัวคือ ปากตุ่มและก้นตุ่มมีขนาดเท่ากันป่องกลาง และเป็นตุ่มขนาดใหญ่ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ตุ่มน้ำจากสามโคกได้ถูกกลืนหายไปกับยุคสมัยเสียแล้ว หลังขุดคลอง ลัดแล้วทางรัฐได้ให้คนมอญอพยพที่เข้ามาแต่สมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ มาตั้งถิ่นฐานทำอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา เพื่อผลิต อิฐ กระเบื้อง ไปใช้ในการก่อสร้างป้อมปราการ วัดวาอาราม รวมทั้งปราสาทราชวัง เพราะอยุธยาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองลงมาเริ่มได้รับอิทธิพลการก่อสร้างสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมากกว่าสมัยก่อนฯ

                   

     ในขณะเดียวกัน แหล่งอุตสาหกรรมนี้ก็ผลิตเครื่องปั้นดินเผาแกร่งที่เป็นภาชนะใช้สอยของชาวบ้านชาวเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างโดยทั่วไปด้วย ภาชนะใช้สอยเหล่านี้ได้แก่ ตุ่มน้ำ โอ่งน้ำ ครก ไห เป็นต้น แหล่งเตาเผาในบริเวณนี้มี 3 แห่ง




     จึงเป็นที่รู้จักกันภายหลังว่า สามโคก เมื่อการผลิตลดน้อยลงอันเนื่องจากชุมชนมอญขยายตัวลงไปตามลำน้ำเจ้าพระยาไปยังปทุมธานีและ ปากเกร็ด โดยเฉพาะปากเกร็ดนั้น อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นแหล่งทำเครื่องปั้นดินเผาสืบต่อจากสามโคกทีเดียว อย่างไรก็ตาม บริเวณสองฝั่งของคลองลัดที่กลายมาเป็นลำน้ำเจ้าพระยาจากเชียงรากมาถึงปทุมธานีนั้น นับเนื่องเป็นชุมชนเมืองที่อยู่ต่ำลงมาจากพระนครศรี อยุธยาได้ เพราะแลเห็นการขุดคลองซอยแยกออกไปทั้งสองฝั่งมากมาย ทำให้เกิดบ้านที่อยู่อาศัยของผู้คนหนาแน่นกว่าที่อื่น ๆ............



สัมภาษณ์นายกเทศมนตรีเทศบาลรังสิต


อ่านต่อได้ที่ : https://www.gotoknow.org/posts/334862

  
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 Internationalสัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น